แนวทางการดำเนินงาน

มูลนิธิทันตนวัตกรรม
มูลนิธิทันตนวัตกรรม

วัฒนธรรมองค์กร

มูลนิธิฯ ได้ให้ความสำคัญต่อการสร้างวัฒนธรรมองค์กร เพื่อก้าวไปสู่การเป็น "องค์กรที่ดีที่สุดในประเทศไทย ด้านการผลิตทันตนวัตรกรรม" โดยจัดทำรูปแบบจำลองการสร้างวัฒนธรรมองค์กรผ่านตัวแบบ DIF Hexagonal Crytral Model ขึ้นเพื่อเป็นการกำหนดค่านิยมองค์กร (Core Value) และใช้ยึดถือ ปฏิบัติมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มจัดตั้งมูลนิธิฯ

DIF Hexagonal
Crystral Model

DIF hexagonal crystral model
article image

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ มุ่งยกระดับคุณภาพชีวิต และแก้ไขปัญหาทันตสาธารณสุขในปัจจุบันของประเทศ อันจะนำไปสู่การพัฒนาประเทศด้านทันตสาธารณสุขตามแนวพระราชดำริ ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เรื่องการศึกษาวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ทางทันตกรรม ภายใต้กรอบแนวทางการดำเนินงาน 9 ข้อ คือ

1. เริ่มต้นจากการพึ่งพาตนเอง โดยการสร้างนวัตกรรม วัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์

2. ใช้แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง

Have stunning modules with a project. 3. ใช้วัตถุดิบหรือทรัพยากรภายในประเทศ

4. ใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาเหมาะสมกับประเทศไทย

5. พัฒนาตามสภาพการสนับสนุนที่เอื้ออำนวย

6. มุ่งเน้นการแก้ปัญหาทันตสาธารณสุขของคนไทยและเศรษฐกิจไทย

7. สร้างความร่วมมือทั้งภายในและภายนอกหน่วยงาน

8. พัฒนาบุคลากรใหม่

9. มีระบบติดตามการใช้งานนวัตกรรมและการประเมินผลระยะยาว

แผนการดำเนินงาน
ตามตัวแบบการจัดการ BSC ประยุกต์ใช้ ในการบริหารงานของ
มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมป์

 

แผนงานภายในองค์กร

มูลนิธิกำหนดให้การวางระบบงานที่เหมาะสมกับองค์กรเป็นแผนงานหลัก อันจะนำไปสู่การกำกับดูแลที่ดี มีการดำเนินที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลตามวัตถุประสงค์ การบริหารจัดการภายในองค์กรมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ พร้อมพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากรในด้านการปฏิบัติงานและการตัดสินใจ เพื่อรองรับการดำเนินงานด้านวัฒนธรรมองค์กร (Corporate Culture) ร่วมกัน โดยมุ่งหวังให้เกิดขึ้นระหว่างผู้ปฏิบัติงานในฐานะที่เป็นองค์กรดำเนินงานรับใช้โต้เบื้องพระยุคลบาท สนองพระราชกระแส และเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน

 

แผนงานด้านนวัตกรรมและการเรียนรู้

มูลนิธิมุ่่งเน้นการศึกษาวิจัยพัฒนานวัตกรรมด้านทันตกรรม เพื่อแก้ปัญหาโรคทางทันตกรรมสำหรบัผู้สูงอายุ (Geriatric Dentisitry) เป็นหลัก เนื่องจากปัจจุบันมีปริมาณผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นจำนวนมาก และมีปัญหาสุขภาพช่องปากที่หลากหลายรูปแบบ โดยร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทำการคิดค้นพัฒนาเพืื่อผลิตนวัตกรรมที่ใช้ในการรักษาฟื้นฟู และป้องกัน เช่น แก้ปัญหาการสูญเสียฟัน ฟันฝุและรากฟันผุ โรคปริทันต์ โรคมะเร็งในช่องปาก สภาวะน้ำลายแห้ง ฟันสึก และปัญหาเลือดไหลไม่หยุดเนื่องจากยา เป็นต้น ควบคู่กับการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางทันตกรรมต่างๆ ซึี่งมูลนิธิจะใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนาประเภทการวิจัยประยุกต์ (Applied Research) แล้วผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ตามมาตรฐานสากล และกฏหมายที่เกี่ยวข้องที่บังคับใช้อยู่ในปัจจุบัน

 

แผนงานด้านการเงิน

งบประมาณดำเนินกิจการของมูลนิธิฯ ได้รับการอุดหนุนจากรัฐบาล ผ่านสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ซึ่งเป็นงบประมาณแผ่นดิน ดังนั้น มูลนิธิฯ จึงกำหนดแผนการใช้จ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และเกิดประโยชน์สูงสุด สอดคล้องสัมพันธ์กันระหว่างด้านรายรับและรายจ่าย พร้อมเน้นความถูกต้องโปร่งใสและการตรวจสอบได้จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ระบบการจัดซื้อจัดจ้างมีระเบียบของคณะกรรมการมูลนิธิฯ พ.ศ. 2553 เป็นระเบียบปฏิบัติอ้างอิง การพัสดุและคลังสินค้ามีการตรวจนับและรักษาอย่างเข้มงวด เพียงพอต่อการใช้งานแบบทันเวลา ระบบบัญชีและการเงินมีกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการบัญชีอนุญาตทั่วไป และรายงานผลต่อหน่วยงานเกี่ยงข้องอย่างสม่ำเสมอ มีะรบบทวนสอบกลับตามข้อกำหนดของมาตรฐานสากลที่ใช้อ้างอิงเช่นกัน

 

แผนงานด้านลูกค้าและพันธมิตร

งานศึกษาวิจัยพัฒนาด้านทันตกรรม เป็นศาสตร์ที่ต้องใช้องค์ความรู้และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านจากหลากหลายสาขา และเมื่อวิจัยพัฒนาจนสามารถผลิตเป็นผลิตภัณฑ์หรือบริการได้แล้ว จึงจะส่งต่อให้ผู้ใช้และผู้รับบริการ เช่น ทันตแพทย์ ผู้ป่วย ดังนั้น กระบวนการจึงต้องดีมีคุณภาพมาตรฐาน เกิดความเชื่อมั่นในผลิตภัณฑ์ และต้องตอบสนองต่อสภาวการณ์ของโรคได้เป็นอย่างดี มูลนิธิฯ จึงสร้างความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยสร้างเครือข่ายและส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานร่วมกันผ่านโครงการนำร่องสาธารณสุขกุศลต่างๆ เช่น โครงการฟันเทียมและรากฟันเทียม พระราชทาน 999 ชุด โครงการอาหารพระราชทาน เป็นต้น จากนั้นจะมีการป้อนกลับข้อมูล เพื่อนำไปปรับปรุงพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมถ์ ซึ่งเป็นเจ้าภาพยุทธศาสตร์ที่ 2

ได้เตรียมความพร้อมสำหรับการศึกษาวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเพื่อสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุ โดยทำการก่อสร้างอาคารสถานที่ปฏิบัติงานให้พร้อมสำหรับการศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรมแล้วเสร็จในปี 2558 อาคารดังกล่าวประกอบด้วย ห้องปฏิบัติการวิจัยและพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ ห้องผลิตนวัตกรรมอาหารทางการแพทย์ระดับ Pilot Scale อาคารผลิตนวัตกรรมอาหารทางการแพทย์ระดับอุตสาหกรรมตามมาตรฐานสากล คลินิกสำหรับการทดสอบประสิทธิผลทางคลินิก เพื่อการวิจัยและพัฒนาผลิตนวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุทั้ง 7 ประเด็น
มูลนิธิทันตนวัตกรรม
มูลนิธิทันตนวัตกรรม

การดำเนินงานตามแผนงาน
ทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย

มูลนิธิทันตนวัตกรรมในพระบรมราชูปถัมภ์ มุ่งมั่นวิจัยและพัฒนานวัตรกรรมเพื่อแก้ปัญหาโรคทางทันตกรรมในผู้สูงอายุ รวมทั้งพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อนำมาสนับสนุนการบริการ ส่งเสริม ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูตาม "แผนงานทันตสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุประเทศไทย พ.ศ. 2558-2565" ทั้งนี้โรคทางทันตกรรมของผู้สูงอายุ 7 โรค

เป้าหมายการดำเนินงานแผน
ทันตสุขภาพผู้สุงอายุเพื่อให้ผู้สูงอายุร้อยละ 80 มีสุขภาพช่องปากและฟันที่ดี

สามารถรับประทานอาหาร พูด และเข้าสังคมได้ ช่วยส่งเสริม โดยทัี่วไป รวมทั้งมีความพึงพอใจในสภาพช่องปากตนเอง และให้มีนวัตกรรมที่นำไปใช้เพื่อแก้ไขปัญหาสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุใน 7 ประเด็น นอกเหนือกลุ่มเป้าหมายผู้สูงอายุแล้ว ปัจจุบันมูลนิธิฯ ได้มีการปรับปรุง โครงสร้างภายในองค์กรให้มีความเหมาะสมขึ้น เพื่อรองรับภารกิจในการขับเคลื่อนการนำผลงานที่ได้จากการวิจัยและพัฒนามาผลิตเป็นนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการไปใช้ประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาให้กับประชาชนในทุกระดับต่อไป โดยกลุ่มนวัตกรรมและบริการที่มูลนิธิฯ ดำเนินการอยู่ในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

ห้องปฏิบัติการวิจัย
เครื่องมือแพทย์

ห้องปฏิบัติการวิจัย
เวชภัณฑ์

ผลการดำเนินงานภายในองค์กร

ระบบมาตรฐานที่มูลนิธิฯ ได้รับการรับรอง

นโยบายคุณภาพ

ผลิตสินค้าได้รับมาตรฐานมีความปลอดภัย
เป็นไปตามความต้องการลูกค้า
เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

นโยบายคุณภาพ ด้านอาหารฮาลาล

มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์
มุ่งมั่นผลิตผลิตภัณฑ์เจลลี่โภชนา วุ้นชุ่มปาก
ที่มีคุณภาพมาตรฐาน สะอาด ปลอดภัย
ต่อผู้บริโภค ถูกต้องตามกฏหมาย
สอดคล้องตามบทบัญญัติศาสนาอิสลาม
รวมถึงตามระบบบริหารจัดการด้านคุณภาพ
เพื่อรับประกันและรับผิดชอบ
ต่อสภาพฮาลาลของผลิตภัณฑ์และบริการ