หน่วยทันตกรรมพระราชทาน

การจะให้ราษฎรที่ยากจน ที่มีปัญหาเรื่องฟัน
หยุดการทำนา ทำไร่
เดินทางไปหาหมอนั้น เป็นสิ่งที่ยากยิ่ง
ในทางตรงกันข้าม หากเป็นการให้บริการเคลื่อนที่ไปสู่ประชาชน
ก็จะเป็นการแก้ปัญหาได้ทางหนึ่ง

พระราชดำริ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพล
อดุลยเดช บรมนาถบพิตร
ที่เป็นจุดเริ่มต้นของการก่อตั้ง

"หน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว"

ประวัติความเป็นมา

หน่วยทันตกรรมพระราชทาน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน
หน่วยทันตกรรมพระราชทาน

และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
พระราชทานรถยนต์ทำฟันเคลื่อนที่
พร้อมอุปกรณ์เพื่อให้ทันตแพทย์อาสาสมัคร
สามารถออกให้บริการประชาชน
ในถิ่นทุรกันดาร ในนามของ
หน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
โดยมี ศาสตราจารย์
พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห
เป็นผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ

หน่วยทันตกรรมพระราชทานในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ออกปฏิบัติงานให้บริการทันตกรรมเคลื่อนที่เป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน ๒๕๑๓ โดยเริ่มต้นที่อำเภอทับสะแกจังหวัดประจวบขีรีขันธ์เรื่อยขึ้นมาจนถึงจังหวัดนครปฐม ตามรับสั่งของพระบาทสมเด็จประปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนารถบพิตร ซึ่งรถทันตกรรมเคลื่อนที่พระราชทานจะจอดให้บริการรักษาและดูแลสุขภาพช่องปากให้กับราษฏรที่ยากจนตามตำบลและอำเภอต่างๆ ตลอดเส้นทางแห่งละ ๑ วัน

จากพระราชกระแสดังกล่าวแสดงถึงน้ำพระราชหฤทัยอันเปี่ยมด้วยพระเมตตาที่มุ่งหวังจะให้พสกนิกรในพื้นที่ห่างไกลได้เข้าถึงการบริการรักษาทางทันตกรรมและมีสุขภาพช่องปากที่ดี ปราศจากความทุกข์อันเกิดจากโรคเช่นเดียวกับพระองค์ เพื่อให้พสกนิกรทั่วทุกภูมิภาคมีโอกาสเข้าถึงบริการทางทันตกรรมตามพระราชประสงค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนารถบพิตร พระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานรถยนต์ทำฟันเคลื่อนที่จำนวน ๑ คัน เพื่อใช้เป็นหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ส่วนพระองค์ โดยทรงประกอบพิธีเจิมรถเพื่อเป็นสิริมงคล เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน ๒๕๑๓ ณ พระราชวังไกลกังวล อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์

ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งหน่วยทันตกรรมพระราชทานขึ้นในภูมิภาคต่างๆ รวมปัจจุบันมีมหาวิทยาลัยในสังกัดของหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ มหาวิทยาลัย และ ๑ โรงพยาบาล โดยมีกำหนดการออกให้บริการทันตกรรมในจังหวัดต่างๆ เป็นประจำโดยเฉลี่ยเดือนละ ๑ ครั้ง และในทุกปีจะร่วมกันออกให้บริการ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ในถิ่นทุรกันดารอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ครั้งและ ๑ สัปดาห์

ควรได้มีการสำรวจเส้นทางก่อนการปฏิบัติงานและควรมีการติดต่อกันกับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเมื่อได้ปฏิบัติครบแล้ว ให้ปฏิบัติซ้ำอีกเป็นรอบที่สอง ผลการปฏิบัติงานในรอบแรกเป็นอย่างไร อาจตัดสินใจได้จากจำนวนคนไข้ที่มาในครั้งที่สองนี้ และเป็นการช่วยเหลือประชาชนที่พลาดโอกาสจากครั้งแรก

พระราชดำรัส
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร

ศาสตราจารย์ พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห

ตลอดระยะเวลา 9 ปี นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2513-2515 ศาสตราจารย์ พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ได้นำทันแพทย์ออกให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนรวม 107,903 ราย ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุทธยา พิจิตร อ่างทอง และสระบุรี

ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง
ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช


เมื่อศาสตราจารย์ พันโท ทันตแพทย์ สี สิริสิงห ถึงแก่อนิจกรรม ศาสตราจารย์พิเศษ ทันแพทย์หญิงท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ได้เป็นผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ปฏิบัติหน้าที่ต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน โดยที่ปรึกษาผู้อำนวยการดังนี้ 1) นายวรวิทย์ จำปีรัตน์ 2) ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ 3) ดร.ประจิตต์ โรจนพฤกษ์ และ 4) รศ.ทพญ.วาสนา พัฒนพีระเดช เป็นเลขานุการ

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้
หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ
มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็คือ
พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร
ทรงติดตามการดำเนินงาน
และพระราชทานคำแนะนำอยู่เสมอ
ดั่งพระราชการแสความว่า...

ทันตแพทย์อย่าดูแต่เรื่องฟันอย่างเดียว
ให้ดูเรื่องอื่นๆ ด้วย
เช่น สังเกตขาเจ็บ ตาบวมเจ็บคอ ฯลฯ
เพราะทันตแพทย์ก็เป็นแพทย์เหมือนกัน
เรียนมาเหมือนกันถ้ารักษาได้
ก็ควรให้การรักษา ถ้ารักษาไม่ได้ควรให้คำแนะนำส่งต่อไปรักษา
ราษฏรจะได้รับการดูแลแต่เนิ่นๆ
และต้องซักถาม ทุกข์ สุข เรื่องการทำมาหากิน
ถนนหนทาง น้ำท่า เพราะถ้าน้ำไม่มี
จะให้แปรงฟันวันละ 2 ครั้งได้อย่างไร
ถนนไม่ดี จะให้มาหาหมอปีละ 2 ครั้ง ได้อย่างไร

ปัจจุบันหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ
สามารถให้บริการตรวจฟัน
วินิจฉัยด้วยภาพรังสี ถอนฟัน ผ่าตัดฟันคุด
ขูดหินปูน อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน ใส่ฟันเทียมบางส่วนชนิดถอดได้ ใส่ฟันเทียมทั้งปาก
และให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาได้ทั้งหมด
ภายในหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่
จนนำมาสู่การขนาดนามว่าเป็น
"หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ที่ใหญ่ที่สุด"

หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่
ที่ใหญ่ที่สุด

มีทันตแพทย์อาสาสมัครและบุคลากรสายสนับสนุนเข้าร่วมปฏิบัติงาน 100-150 คน
มีทันตแพทย์อาสาสมัครจากต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน ร่วมให้บริการด้วย
สามารถให้บริการประชาชนได้ประมาณวันละ 1,500-1,800 คน

ตลอดระยะเวลา ๙ ปี นับตั้งแต่ปี ๒๕๑๓ – ๒๕๒๑ ศาสตราจารย์ พันโท สี สิริสิงห ผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ ได้นำทันตแพทย์ออกให้บริการทันตกรรมแก่ประชาชนรวม ๑๐๗,๙๐๓ ราย ในพื้นที่ของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เพชรบุรี นครปฐม กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ตราด นครสวรรค์ ชัยนาท อุทัยธานี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร อ่างทอง และสระบุรี

เมื่อศาสตราจารย์ พันโท สี สิริสิงห ถึงแก่อนิจกรรม ศาสตราจารย์พิเศษ ทันตแพทย์หญิง ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ได้เป็นผู้อำนวยการหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ปฏิบัติหน้าที่ต่อเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

โดยระยะแรกมีทันตแพทย์อาสาสมัครจากคณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คอยผลัดเปลี่ยนกันทุกสัปดาห์ จำนวน ๒ คน และเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในท้องถิ่นนั้น ๆ เป็นผู้ให้บริการรักษาและให้ความรู้ด้านทันตสุขภาพ ในเวลาต่อมาพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาตให้จัดตั้งหน่วยทันตกรรมพระราชทานขึ้นในส่วนภูมิภาคต่าง ๆ รวมปัจจุบันมี มหาวิทยาลัยในสังกัดของหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ๗ มหาวิทยาลัย และ ๑ โรงพยาบาล ได้แก่

  • 1 คณะทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • 2 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • 3 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • 4 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • 5 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • 6 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • 7 คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • 8 โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา

โดยมีกำหนดการออกให้บริการทันตกรรมในจังหวัดต่าง ๆ เป็นประจำโดยเฉลี่ยเดือนละ ๑ ครั้ง และในทุกปีจะร่วมกันออกให้บริการ หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ใหญ่ในถิ่นทุรกันดาร อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ครั้งละ ๑ สัปดาห์

ปัจจุบัน มีทันตแพทย์อาสาสมัครและบุคลากรสายสนับสนุน เข้าร่วมงานกับหน่วยทันตกรรมพระราชทานครั้งละประมาณ ๑๐๐ – ๑๕๐ ราย และมีทันตแพทย์ชาวต่างประเทศ เช่น ญี่ปุ่น จีน เยอรมัน ให้ความสนใจเข้าร่วม เป็นอาสาสมัครด้วย โดยสามารถให้บริการรักษาแก่ประชาชน ได้ประมาณวันละ ๑,๕๐๐ – ๑,๘๐๐ ราย

ปัจจุบันหน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ สามารถให้บริการตรวจฟัน วินิจฉัยด้วยภาพรังสี ถอนฟัน ผ่าตัดฟันคุด ขูดหินปูน อุดฟัน รักษาคลองรากฟัน ใส่ฟันเทียมบางส่วนชนิดถอดได้ ใส่ฟันเทียมทั้งปาก และให้ความรู้ด้านทันตสุขศึกษาได้ทั้งหมดภายในหน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ ประเภทของการ รักษานั้นสามารถให้บริการแก่ราษฎรได้อย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ เช่นเดียวกับรักษาที่โรงพยาบาลขนาดใหญ่ จนนำมาสู่การขนานนามว่า เป็น "หน่วยทันตกรรมเคลื่อนที่ที่ใหญ่ที่สุด"

ปัจจัยสำคัญประการหนึ่งที่ทำให้หน่วยทันตกรรมพระราชทานฯ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องก็คือ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ทรงติดตามการดำเนินงานและพระราชทานคำแนะนำอยู่เสมอ ดั่งพระราชกระแสความว่า...

"ทันตแพทย์อย่าดูแต่เรื่องฟันอย่างเดียว ให้ดูเรื่องอื่น ๆ ด้วย เช่น สังเกตขาเจ็บ ตาบวม เจ็บคอ ฯลฯ เพราะทันตแพทย์ก็เป็นแพทย์เหมือนกัน เรียนมาเหมือนกัน ถ้ารักษาได้ก็ควรให้การรักษา ถ้ารักษาไม่ได้ควรให้คำแนะนำ ส่งต่อไปรักษา ราษฎรจะได้รับการดูแลแต่เนิ่น ๆ และต้องซักถาม ทุกข์ สุข เรื่องการทำมาหากิน ถนนหนทาง น้ำท่า เพราะถ้าน้ำไม่มี จะให้แปรงฟันวันละ ๒ ครั้ง ได้อย่างไร ถนนไม่ดี จะให้มาพบหมอปีละ ๒ ครั้ง ได้อย่างไร"